ความเสถียรของน้ำยาง (Stability) หมายถึงความสามารถที่อนุภาคยาง สามารถรักษาสภาพของการมีรูปร่างขนาดเดิมไว้ได้  หรือการที่น้ำยางสามารถรักษาสภาพความเป็นอนุภาคเดี่ยว ๆ  ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำได้แบบคอลลอยด์ ( Colloid  Stability )

ความไม่เสถียร (Destability) หมาย ถึงการสูญเสียความสามารถในการคงสภาพของการมีรูปร่างขนาดเท่าเดิมของแต่ละ อนุภาคในน้ำยาง  จึงหมายถึงการที่อนุภาคของยางรวมตัวเข้าด้วยกัน

rubber-stabilizeภาพแสดงลักษณะความเสถียรและไม่เสถียรของอนุภาคยาง

ตามหลักเทอร์โมไดนามิค  น้ำยางเป็นสารที่ไม่เสถียร อนุภาคยางจะพยายามรวมตัวกันให้มีขนาดอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น  เพื่อให้มีพื้นที่ผิวโดยรวมน้อยลง  คล้ายๆ  กับฟองสบู่ที่จะพยายามรวมตัวกันเป็นฟองใหญ่ขึ้น  เพื่อให้ฟองมีความเสถียรเพิ่มขึ้น

การที่อนุภาคยางสามารถ แขวนลอยอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากประจุไฟฟ้าที่มีอยู่รอบตัวอนุภาคยาง  ทำให้มีคุณสมบัติผลักกันเนื่องจากประจุเหมือนกัน และคุณสมบัติของแรงวัลเดอร์วาวล์  ( Van  der  Waal  force )  ทำให้อนุภาคของยางดูดเข้าหากัน  นอกจากนี้อนุภาคยางยังมีลักษณะเป็นอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ จึงมีคุณสมบัติของคอลลอยด์ด้วย  จึงทำให้น้ำยางสามารถรักษาสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้


ลักษณะของน้ำยางที่ไม่เสถียร

ลักษณะของน้ำยางที่ไม่เสถียรโดยทั่วไปเกิดได้  3  ลักษณะดังนี้

  • การเกิด  Gelation  เกิดจากน้ำยางมีความหนืดเพิ่มขึ้น  แล้วในที่สุดก็จับตัวทั้งก้อนเต็มภาชนะ
  • การเกิด  Coagulation  เกิดการจับตัวเป็นก้อนใหญ่  แยกตัวออกจากชั้นน้ำ
  • การเกิด  Flocculation  เป็นการจับตัวเป็นเม็ด ๆ  กระจายตัวในน้ำยาง


rubber-nonstabilize
ภาพแสดงลักษณะของน้ำยางที่ไม่เสถียร

การตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบสภาพความเสถียรของน้ำยางแต่ละชุดสามารถทำได้หลายวิธี  วิธีที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่

  • ทดสอบความเสถียรเชิงกล
  • ทดสอบการเพิ่มขึ้นของค่าความหนืด
  • ทดสอบระยะเวลาการเกิดเจล
  • ทดสอบความหนาของน้ำยางที่ได้จากการจุ่ม

 

ความเสถียรของน้ำยาง
โดย ปกติน้ำยางธรรมชาติมีความเสถียร เพราะมีสารที่เป็นโปรตีนหรือสบู่ เกาะอยู่ที่ผิวของอนุภาคยาง  สารเหล่านี้มีประจุเป็นลบ จะผลักกัน  ป้องกันไม่ให้อนุภาคยางเข้ามาใกล้กัน หรือมารวมกัน  ดังแสดงในภาพด้านล่าง

rubber_charge

ภาพแสดงความเสถียรของน้ำยาง

น้ำยางธรรมชาติซึ่งปกติมีโปรตีนห่อหุ้ม  จะมีความเสถียรเชิงกลไม่สูงนัก  แต่เมื่อตั้งทิ้งไว้ในสภาวะที่เป็นด่าง  ฟอสโฟไลปิดที่ห่อหุ้มอนุภาคยาง  จะเกิดการไฮโดรไลซิส  เกิดเป็นสบู่กรดไขมัน  ( fatty  acid  soap  )  ที่จะไปห่อหุ้มอนุภาคยางให้เกิดความเสถียรขึ้น  ดังนั้นน้ำยางที่เก็บรักษาด้วยแอมโมเนียสูงจะเกิดการไฮโดรไลซิสของฟอสโฟไล ปิดได้ดีกว่าน้ำยางที่เก็บรักษาด้วยแอมโมเนียต่ำ