น้ำยางมีสภาพเป็นคอลลอยด์หรือสารแขวนลอยของอนุภาคยางในตัวกลางที่เป็น น้ำ  อนุภาคยางจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างอิสระ  ความไม่เสถียรของน้ำยางจะเกิดขึ้น  ถ้าอนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่นั้นมีความถี่หรือความรุนแรงของการชนกันเพิ่ม ขึ้น

การเสียความเสถียรทางกายภาพ  สามารถแบ่งย่อยออกเป็น  4  สาเหตุด้วยกัน  ดังนี้

1. การเสียสภาพเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
การ เสียเสถียรภาพของน้ำยางจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ทาง คือ การเพิ่มอุณหภูมิ  ( ความร้อน )  และการลดอุณหภูมิ  ( ความเย็น )

  • การเสียสภาพโดยความร้อน ( การเพิ่มอุณหภูมิ )  เป็นการให้พลังงานจลน์แก่อนุภาคยาง  ทำให้เม็ดยางมีพลังงานจลน์ที่จะเคลื่อนไหวด้วยความถี่และความรุนแรงเพิ่ม ขึ้น  จนกระทั่งอนุภาคยางมีโอกาสเข้าใกล้กันหรือจะชนกันสูงขึ้น  จนถึงจุดที่สามารถชนะแรงผลักของประจุที่มีอยู่ระหว่างอนุภาค จนทำให้น้ำยางเสียสภาพได้ในที่สุด     น้ำยางบางประเภท  โดยเฉพาะที่ใส่  non – ionic  stabilizer  จะสูญเสีย  Stabilizer  โดยการตก ตะกอนออกไป  ทำให้น้ำยางเสียสภาพได้เช่นกัน
  • การเสียสภาพโดยความเย็น ( การลดอุณหภูมิ )  โดยปกติการลดลงของอุณหภูมิ มีผลทำให้ความเสถียรของยางดีขึ้น เช่น ในกระบวนการผลิตถุงมือยาง จะมีการรักษาอุณหภูมิของน้ำยางไว้ประมาณ  25  องศาเซลเซียส  เป็นต้น  แต่ถ้าลดอุณหภูมิของน้ำยางลง จนถึงระดับที่ตัวกลางคือ น้ำ เกิดการเยือกแข็ง  (  Aqueous  phase  begin  to  freeze  )  ความเสถียรของน้ำยางจะลดลงอย่างรวดเร็ว จนน้ำยางเกิดการสูญเสียสภาพ     การเสียสภาพจากความเย็น เป็นผลเนื่องจากผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในส่วนของน้ำ  อันเนื่องมาจากการลดลงของอุณหภูมิส่งผลให้ปริมาตรของผลึกน้ำแข็งในน้ำยาง เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น  ดันให้อนุภาคเม็ดยางเข้ามาหากัน  และอยู่ใกล้กันมากขึ้น  จนกระทั่งสัมผัสและจับตัวเป็นก้อนได้

2. การเสียสภาพโดยทางกล
การ เสียเสถียรภาพของน้ำยางที่มีสาเหตุจากทางกลจะเห็นได้ชัดจากการทดสอบค่า  MST ของน้ำยาง  น้ำยางที่มีค่า  MST  ต่ำ จะเป็นก้อนได้ง่ายถ้ามีแรงเฉือน เช่น การปั๊มน้ำยาง  เป็นต้น  เนื่องจาก  MST  ของน้ำยางมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณสบู่ที่ห่อหุ้มอนุภาคเม็ดยาง  นอกจากนี้การกวนที่ก่อให้เกิดแรงเฉือน  ซึ่งจะเร่งให้อนุภาควิ่งเข้าหากันได้ด้วยความเร็ว  หรือโมเมนตัมสูงขึ้น  ก็จะทำให้น้ำยางเสียเสถียรภาพได้เร็วขึ้น

3. การเสียสภาพจากการระเหย
การ ระเหยไม่ทำให้เกิดการเสียเสถียรภาพของน้ำยางโดยตรง  แต่เป็นการบังคับให้อนุภาคเม็ดยางเข้าใกล้กัน  ทำให้ความถี่ของการชนกันระหว่างอนุภาคมีมากชึ้น  จนทำให้น้ำยางเสียสภาพ จับตัวได้      เมื่อน้ำยางถูกเก็บรักษาด้วยสารที่ระเหย ได้  เช่น  แอมโมเนีย  การระเหยของน้ำออกไปจากผิวหน้ายาง  ทำให้ที่ผิวหน้าของน้ำยาง  ( Surface  skinning )  เกิดเป็นฝ้าได้  โดยปกติสามารถใช้ประโยชน์จากการเสียสภาพในลักษณะนี้โดยใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ยางบาง ๆ  เช่น  การผลิตถุงยางอนามัย เป็นต้น

4.  การเสียสภาพโดย  Gulvanic  Effect
เกิด จากอิทธิพลของไฟฟ้า  เนื่องจากการมีประจุลบ อยู่รอบ ๆ  ผิวของอนุภาคยาง  ดังนั้นเมื่อนำโลหะต่างชนิดกันมาวางให้สัมผัสกัน แล้วให้สารละลายที่มีประจุ   ไหลผ่านโลหะทั้งสองที่วางต่อกัน  จะก่อให้เกิดมีไฟฟ้าแล่นผ่านโลหะทั้งสอง  ( หรือมีอิเลคตรอน )  แล่นผ่านโลหะทั้งสอง  ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า “ Gulvanic  effect “

การ มีกระแสไฟฟ้าวิ่ง  ทำให้อนุภาคยางในน้ำยางซึ่งมีผิวที่เป็นประจุลบ  ก็จะเข้าสู่ขั้วบวกด้วย ส่งผลให้อนุภาคเม็ดยางจะไปอออยู่ในส่วนของขั้วบวก  เช่น  ถ้าท่อโลหะขนถ่ายน้ำยางท่อหนึ่งเป็นท่อเหล็กธรรมดา  ส่วนอีกท่อหนึ่งเป็นเหล็กอาบสังกะสี จะพบว่า ภายในท่อเหล็กที่อาบสังกะสีนั้น  จะเกิดการอุดตันเพราะอนุภาคยางจะไปเกาะที่ผิว