การแปรรูปเพื่องานด้านโยธา
การแปรรูปเพื่องานด้านโยธา
เป็นการนำเอายางธรรมชาติ มาผสมกับสารเคมีต่าง ๆ เพื่อเตรียมเป็นยางคอมเปาด์ ซึ่งเป็นการปรับคุณสมบัติของยางธรรมชาติให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานต่าง ๆ ที่ต้องการ สำหรับการนำไปใช้ทางด้านการโยธานั้น พอจะแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มด้วยกัน คือ
A : กลุ่มงานป้องกันการซึมผ่านของน้ำสำหรับอาคารต่าง ๆ
B : งานทดแทนรูปแบบการใช้งานของเดิม
C : งานฐานรากและเสริมความแข็งแรงของพื้นผิว
D : กลุ่มงานโยธารูปแบบใหม่
E : กลุ่มงานขนส่งทางราง
A : ตัวอย่างการใช้ในงานป้องกันการซึมผ่านของน้ำสำหรับอาคารต่าง ๆ
1. กันซึมดาดฟ้า / ระเบียง : PC101
ปัญหาสำหรับอาคารทั่วไปในเขตภูมิภาคที่มีฝนตกสม่ำเสมอทุกปี คือ การรั่วซึมของน้ำฝนจากบริเวณดาดฟ้าหรือระเบียง ลงไปยังชั้นล่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยแล้ว บางครั้งยังทำความเสียหายให้กับสิ่งของต่าง ๆ ในอาคารด้วย
การนำยางไปใช้ในงานกันซึม เริ่มจากการนำยางดิบในรูปของน้ำยาง ไปเตรียมให้เป็นน้ำยางคอมเปาด์ เพื่อปรับคุณสมบัติต่าง ๆ ให้ตรงตามที่ต้องการ หลังจากนั้นก็เก็บบ่มเร่งเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงนำไปใช้งานตามที่ต้องการ
Advantages
ปัจจุบันการแก้ไขปัญหารั่วซึม จะใช้สารเคมีที่เป็นน้ำยากันซึมซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไปมาทาเคลือบบนผิวคอนกรีตอีกชั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการนำยางมาใช้ในงานนี้ จะพบว่ายางมีคุณประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากวัสดุเดิมที่ใช้กันอยู่ คือ
– ค่าใช้จ่ายในการใช้ยางจะต่ำกว่าการใช้วัสดุอื่น ๆ
– มีอายุการใช้งานที่นานกว่า
– สามารถซ่อมแซมได้เมื่อเกิดการเสียหาย โดยไม่ต้องรื้อออกแล้วปูใหม่
– เพิ่มปริมาณการใช้ยางและมูลค่าของยางภายในประเทศ
– เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. งานกันซึมในห้องน้ำ : PC103
3. งานซ่อมท่อน้ำทิ้งที่รั่วในอาคารเก่า : PC104
4. งานป้องกันน้ำท่วมฉุกเฉิน : PC106
ในปัจจุบันบ้านพักอาศัยในเขตเมือง มักจะเจอปัญหาเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน ทำความเสียหายและก่อให้เกิดความรำคาญกับภายในบ้านที่พักอาศัย ทั้งที่เกิดจากปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน หรือปัญหาน้ำที่หลากมาจากแหล่งน้ำอื่น บางครั้งถึงระดับน้ำที่ท่วมจะไม่สูงมากนัก แต่ก็ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด ซ่อมแซมที่พักอาศัย
การนำยางไปใช้ในการป้องกันน้ำท่วมฉุกเฉิน จะเตรียมจากยางดิบในรูปของน้ำยาง มาเตรียมเป็นน้ำยางคอมเปาด์ เมื่อบ่มเร่งน้ำยางคอมเปาด์ได้ตามความต้องการแล้ว จึงนำไปใช้งานในพื้นที่ที่ต้องการป้องกันน้ำท่วม
ข้อควรระวังสำหรับการใช้ในด้านนี้คือ ต้องดำเนินการป้องกันก่อนที่น้ำจะหลากผ่านมา เพราะเมื่อน้ำท่วมในพื้นที่แล้ว จะไม่สามารถดำเนินการขึ้นรูปเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมได้ ดังนั้นจึงควรมีเวลาอย่างน้อยก่อนที่น้ำจะหลากผ่านมาประมาณ 45 – 60 นาที
Advantages
การนำยางมาใช้ในการป้องกันน้ำท่วมฉุกเฉิน ซึ่งโดยปกติมักใช้ทรายบรรจุในกระสอบมาวางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป เมื่อเปรียบเทียบกับการนำยางมาใช้ทดแทน จะพบว่ายางมีคุณประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รูปแบบเดิม คือ
– ประกอบติดตั้งได้สะดวกรวดเร็ว
– สามารถประกอบติดตั้งได้เพียงคนเดียว
– ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับรูปแบบอาคารได้ง่าย
– มีน้ำหนักเบา
– เพิ่มปริมาณและมูลค่าการใช้ยางภายในประเทศ
5. งานซ่อมรางระบายน้ำ : PC107
ฺB : ตัวอย่างการใช้งานทดแทนรูปแบบการใช้งานเดิม
1. แผ่นปูรองบ่อขยะ : PC202
2. งานพนังป้องกันตลิ่งพัง : PC203
3. ถังเก็บน้ำบนอาคารสูง : PC205
4. งานผนังห้องใต้ดิน : PC207
5. งานรางระบายน้ำฝน : PC208
6. เขื่อนป้องกันการกัดเซาะจากคลื่น : PC209
7. แนวป้องกันผนังดินถล่ม : PC210
C : งานฐานรากและเสริมความแข็งแรง
1. งานฐานรากถนน : PC301
2. งานปรับความแข็งแรงของพื้นต่าง ๆ : PC303
D : งานโยธารูปแบบใหม่
1. งานป้องกันน้ำท่วมสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ : PC401
2. งานฉาบผนังอาคาร : PC403
3. งานพาราคอนกรีต : PC404
E : งานขนส่งทางราง
1. แผ่นรองกันสะเทือนรางรถไฟ : PC501
2. หมอนรองรางรถไฟ : PC502
3. อุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องโดยสาร : PC504