วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์จากยางพารา
น้ำยางจากต้นยางพารา เป็นที่รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้มาเป็นเวลานานก่อนที่ชาวยุโรป จะเดินทางไปถึงทวีปอเมริกา มีช่วงเวลาที่สำคัญในวิวัฒนาการของการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนี้
การค้นพบครั้งแรก
ประมาณ ปี ค.ศ.600 ชนพื้นเมืองเผ่าอินคา เผ่ามายา เผ่าออลเมค เผ่าแอซแทค นำยางมาใช้ประโยชน์หลายรูปแบบด้วยกัน ได้แก่ ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอุปกรณ์ในการบูชาเทพเจ้า ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเล่นกีฬา นอกจากนี้ยังนำมาเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ชนเผ่ามายา (Mayan) ใช้การจุ่มเท้าลงในหม้อใส่น้ำยางสดซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งจนเป็นรองเท้าหนาตามความต้องการ ชนเผ่ามานาโอส์ (Manaos) นำน้ำยางสดมาทำเป็นถุงเก็บน้ำและแผ่นกันฝน เป็นต้น
ลูกบอลโบราณที่ทำจากน้ำยางวัลคาไนซ์ของชนพื้นเมืองโบราณในเม็กซิโกและอเมริการกลาง
ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Mesoamerican_rubber_balls
การค้นพบครั้งสำคัญ
ค.ศ. |
วิวัฒนาการของยางพารา |
1200 | พบหลักฐานในเขตเม็กซิโก ว่ามีการนำยางมาทำเป็นลูกบอลกลม ใช้เล่นกีฬาคล้ายกับบาสเกตบอล |
1510 | เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปอเมริกาครั้งที่ 2 มีบันทึกการพบเห็นชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองที่เกาะเฮติ กำลังเล่นวัตถุลักษณะกลมที่กระดอนได้สูงอย่างไม่น่าเชื่อ จึงเรียกวัตถุมหัศจรรย์ที่เต้นได้ นั้นว่า “ ลูกบอลผีสิง “ |
1540 | มีการบันทึกการใช้ยางทำผ้ากันฝนครั้งแรกโดยพิซซาโร (Pizzro) ชาวสเปน |
1678 | เอริสซองท์ (Herrissant) และมัคแกร์ (Macquer) พบว่าน้ำมันสน (Turpentine) ใช้เป็นตัวทำละลายยางได้ และอีเทอร์ (Ether) สามารถใช้เป็นสารละลายยางได้ดีกว่าน้ำมันสน |
1740 | ชาลส์ มารี เดอ ลา คองดามีน (Charles Marie de La Condamine) ได้พบของเหลวที่มีลักษณะขุ่นขาวคล้ายกับน้ำนม ซึ่งไหลออกมาจากต้นยาง ดองตามีนได้ส่งข้อมูลนี้ไปให้กับสภาวิทยาศาสตร์แห่งปารีส และได้เรียกชื่อยางตามคำพื้นเมืองของชาวไมกาว่า คาโอชู ซึ่งแปลว่าต้นไม้ร้องไห้ (CAOUTCHOUC: COU หมายถึงไม้ และ TCHU หมายถึงหลั่งน้ำตา) นอกจากนี้ยังได้ให้ชื่อของเหลวที่มีลักษณะขุ่นขาวคล้ายน้ำนมซึ่งไหลออกมาจาก ต้นยางเมื่อกรีดเป็นรอยแผลว่า LATEX |
1770 | โจเซฟ พริสต์เลย์ (Joseph. Priestley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พบว่าวัสดุนี้ใช้ลบรอยดินสอที่เขียนไว้ได้ จึงตั้งชื่อนี้ว่า RUBBER และเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแพร่หลายต่อมา |
1791 | ซามูเอล ฟีล (Samuel Pile) ได้จดลิขสิทธิ์ที่ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับวิธีการฉาบเสื้อผ้าที่ทำด้วยหนัง ฝ้าย ผ้าใบ และขนสัตว์กันน้ำซึม ด้วยสารละลายยาง |
1791 | โฟร์ ครอย ค้นพบการเติมด่าง ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน แต่ไม่ได้รับความสนใจ |
1803 | ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการเริ่มทำผลิตภัณฑ์ยางเป็นครั้งแรก แต่พบข้อเสียคือ หน้าร้อนยางจะเหนียวเหนอะหนะ และหน้าหนาวยางจะแข็งเปราะแตกง่าย |
1826 | ไมเคิล ฟาราเดย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พบว่ายางธรรมชาติเป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน และ ไฮโดรเจน มีสูตรเคมี คือ C5H8 |
1832 | โธมัส แฮนค๊อก (Thomas Hancock) ทำการประดิษฐ์เครื่องฉีกยางที่ตั้งชื่อว่า masticator ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบที่ใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้ |
1839 | ชาส์ล กู๊ดเยียร์ (Charles Goodyear) ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่า ยางจะทำปฎิกริยากับกำะถันที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน ทำให้ยางแข็งตัวและยืดหยุ่นได้ดี ทนทางต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่เยิ้มเหลวในสภาพอากาศร้อน ไม่แข็งเปราะเมื่ออากาศเย็น และจดสิทธิบัตรความคิดนี้ในปี คศ.1844 |
1843 | โธมัส แฮนค๊อก ได้สานต่อแนวความคิดของ ชาลส์ กู๊ดเยียร์ โดยนำแผ่นยางบาง ๆ มาชุบกำมะถันร้อน อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส เป็นเวลาชั่วโมงครึ่ง ปรากฏว่ายางยืดหยุ่นตัวได้ดี จึงได้ขอจดสิทธิบัตรไว้ และเรียกกระบวนการเกิดปฎิกริยาของกำมะถันกับโครงสร้างโมเลกุลยางนี้ว่า การบ่ม (Cure ) หรือการวัลคาไนซ์ (Vulcanization) |
1846 | โธมัส แฮนค๊อก ทำการประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษ |
1870 | จอห์น ดันลอป (John Dunlop) ทำการประดิษฐ์ยางอัดลมสำหรับรถจักรยานได้สำเร็จ |
และหลังจากค้นพบกระบวนการวัลคาไนเซชั่น ในช่วงปี ค.ศ. 1845 หรือ พ.ศ. 2388 อุตสาหกรรมยางได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้การผลิตยางในเขตพื้นที่อเมริกาใต้ไม่สามารถผลิตให้เพียงพอกับความ ต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ จึงเริ่มมีการมองหาพื้นที่ในการปลูกยางพาราเพิ่มเติม นับจากนั้นเป็นต้นมา