น้ำยางจากต้นยางที่ถูกเก็บรวบรวมมาได้  ชาวสวนหรือกลุ่มเกษตรกรจะมีทางเลือกขั้นต้นอยู่  2  แนวทาง  คือ

  • ขายเป็นน้ำยางสด
  • ทำการผลิตเป็นยางแผ่นดิบ

การเลือกในการทำยางแผ่นดิบ คือ การทำให้น้ำยางสดเสียสภาพเป็นของแข็ง  อยู่ในรูปของแผ่นยาง  โดยอาศัยสารละลายกรดเป็นตัวช่วยทำให้น้ำยางสดเสียสภาพ

rubbersheet-1


ทฤษฎีการจับตัวของน้ำยาง

การ ใช้สารละลายกรดในการช่วยจับตัว  เป็นหนึ่งในวิธีการใช้สารเคมีไปช่วยทำให้น้ำยางหมดความเสถียร  ซึ่งนอกจากสารละลายกรดแล้ว  ยังมีสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ  ด้วย  เช่น

  • เกลืออิออน
  • ตัวทำละลาย  ( Solvent )

สารเคมีในกลุ่มที่กล่าวมาทำให้น้ำยางไม่เสถียร ซึ่งในทางทฤษฎีเกิดขึ้นเนื่องจาก สารเคมีเหล่านี้ทำให้ประจุบนผิวของอนุภาคยางในน้ำยางลดลง

ใน กรณีของสารละลายกรด  ทำให้น้ำยางเสียสภาพ เนื่องจาก  fatty acid soap  ที่อยู่บนอนุภาคเม็ดยางได้ถูกกรดไปเปลี่ยนสภาพเป็น  fatty acid  ที่ไม่มีประจุเหลืออยู่  การลดจำนวนประจุ ทำให้น้ำยางหมดความเสถียร

การ ใช้กรด  ทำให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน  แยกออกจากน้ำยางอย่างรวดเร็ว  ทฤษฎีการใช้กรดจับตัวนี้  นอกจากจะใช้ในการทำยางแผ่นแล้ว  ยังใช้ในกระบวนการผลิตยางแท่ง  และใช้ในกระบวนการผลิตสายยางยืดอีกด้วย

ทฤษฎี การจับตัวของน้ำยางที่นำมาใช้กับการทำยางแผ่นดิบ  เป็นเพียงวิธีการผลิตเพื่อให้ได้ยางแผ่นดิบมาจากน้ำยาง  แต่ถ้าต้องการยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพดีออกมา  ผู้ผลิตจะต้องระมัดระวังและให้ความสนใจกับส่วนต่าง ๆ  ของกระบวนการผลิตด้วย  ได้แก่

  • เรื่องความสะอาดของแผ่นยางที่ผลิตได้
  • ความหนาบางของแผ่นยาง
  • สีของแผ่นยาง
  • ปริมาณการใช้กรดหรือสารจับตัวที่ถูกต้อง