การจับตัวในลักษณะต่อเนื่อง
การทำยางแผ่นดิบในลักษณะนี้ เป็นการทำยางแผ่นโดยใช้เครื่องจักรที่มีลักษณะเป็นสายพานลำเลียงแบบต่อ เนื่องเข้าช่วยเพื่อให้สามารถจับตัวน้ำยางเป็นยางแผ่นได้ต่อเนื่อง
ลักษณะ เด่นของวิธีนี้ คือ สามารถผลิตได้ปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เหมาะสมกับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม การเลือกใช้วิธีจับตัวในลักษณะต่อเนื่อง มีลำดับขั้นตอนการผลิต ดังนี้
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ( แบบต่อเนื่อง )
ก่อนเริ่มการผลิตควรตรวจสอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ความพร้อมของอาคารสถานที่ : อาคารโรงเรือนควรมีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีการรักษาความสะอาด บริเวณพื้นควรเป็นพื้นเทคอนกรีต ควรกำหนดตำแหน่งของบ่อน้ำยางแต่ละบ่อ โดยคำนึงถึงแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการถ่ายเทน้ำยางโดยใช้ปั๊ม ซึ่งจะทำให้น้ำยางเสียสภาพได้ง่าย
2. ความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ : ก่อนทำการผลิตควรจัดหาและตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น ให้มีสภาพพร้อมที่จะใช้งาน อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่จำเป็นในการทำยางแผ่น ได้แก่
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการกรองน้ำยาง
- บ่อรับน้ำยางจากชาวสวน หรือบ่อพักน้ำยาง
- บ่อสำหรับเตรียมน้ำยางก่อนจับตัว
- บ่อสำหรับเตรียมสารจับตัว
- ถังเก็บน้ำ และน้ำสะอาด
- ท่อลำเลียงน้ำยางและระบบการลำเลียงน้ำยาง
- ความพร้อมของเครื่องจับตัวแบบต่อเนื่อง
- ความพร้อมของเครื่องรีดยาง
- บ่อสำหรับแช่ยางที่จับตัวแล้ว หน้า และหลังเครื่องรีดยาง
- ราวสำหรับตากแผ่นยาง
3.การเตรียมความพร้อมของสารเคมี หรือวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต : สารเคมีหรือวัตถุดิบที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ในการผลิตควรถูกเตรียมให้พร้อมใช้งาน ได้แก่
- น้ำ ควรเตรียมให้มีปริมาตรเพียงพอกับการใช้งาน และเป็นน้ำสะอาด
- สารที่ใช้ในการจับตัว ควรถูกเตรียมให้พร้อมใช้งาน มีสัดส่วนการผสมที่ถูกต้อง และมีปริมาตรเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ไม่ควรเตรียมไว้มากเกินไป
- น้ำยางสด
ขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบ ( แบบต่อเนื่อง )
เมื่อเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบต่าง ๆ พร้อมแล้ว การทำยางแผ่นดิบในลักษณะเชิงผสมจะมีลำดับดังนี้
- การกรองน้ำยางลงบ่อรับน้ำยาง เพื่อเอาสิ่งสกปรก หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีอยู่ในน้ำยางออกไป เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นจุดที่จัดเก็บตัวอย่างน้ำยางเพื่อหาปริมาณเนื้อยางที่มี อยุ่จริง ( Dry Rubber Content : DRC.)
- ถ่ายน้ำยางจากบ่อรับน้ำยาง ไปยังบ่อพักเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการผลิต
- เติมน้ำสะอาดลงในบ่อพักเพื่อเจือจางน้ำยาง
- เตรียมสารจับตัวไว้ในบ่อเตรียมสารให้พร้อม
- ปล่อยน้ำยางและสารจับตัวที่เตรียมไว้เข้าสู่เครื่องผสม
- ปล่อยน้ำยางที่ผสมสารจับตัวแล้ว ลงสู่ถาดในเครื่องจับตัวแบบต่อเนื่อง
- ปล่อยให้น้ำยางจับตัวบนเครื่องจับตัวแบบต่อเนื่อง
- ปล่อยให้น้ำยางจับตัวโดยการเคลื่อนที่ไปจนถึงจุดที่กำหนดไว้
- น้ำยางที่จับตัวแล้ว เมื่อเคลื่อนถึงจุดที่กำหนด เครื่องจะปล่อยยางที่จับตัวแล้วลงสู่บ่อล้างยางที่อยู่หน้าเครื่องรีดยาง
- รีดแผ่นยางด้วยเครื่องรีดไฟฟ้า แผ่นยางที่แช่ไว้ในบ่อจะถูกนำผ่านเครื่องรีดที่ประกอบด้วยลูกกลิ้งเป็นคู่ ๆ โดยช่วงแรกจะเป็นลูกกลิ้งแบบไม่มีลาย และลูกกลิ้งชุดหลังเป็นลูกกลิ้งแบบมีลาย เมื่อผ่านเครื่องรีดแล้วแผ่นยางจะไหลลงในบ่อน้ำที่อยู่บริเวณด้านหน้าของ เครื่องรีดยาง
- ล้างทำความสะอาดแผ่นยาง แผ่นยางที่ผ่านการรีดแล้วผ่านลงมาในบ่อด้านหน้า จะถูกล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อชำระล้างสารจับตัวที่อาจตกค้างอยู่ที่ผิวแผ่น ยาง หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่ติดอยู่กับผิวของแผ่นยางออก
- ผึ่งแผ่นยาง เมื่อล้างแผ่นยางด้วยน้ำสะอาดแล้ว แผ่นยางจะถูกพาดตากอยู่บนราว เพื่อให้ความชื้นในแผ่นยางลดลง สิ่งที่ต้องระวังในการผึ่งแผ่นยาง คือ แผ่นยางไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรงเพราะจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพได้ง่าย
- ผึ่งเอาไว้แล้วเก็บรวบรวมขายเป็นยางแผ่นดิบ
- นำเข้าห้องรมควันแล้วขายเป็นยางแผ่นรมควัน
ขั้นตอนหลังการทำแผ่นแล้วเสร็จ ( แบบต่อเนื่อง )
หลังจากทำยางแผ่นดิบเสร็จแล้ว อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ควรได้รับการดูแลรักษา ดังนี้
- ต้องทำความสะอาดบริเวณสถานที่ที่ใช้ในการทำงานให้อยู่ในสภาพที่สะอาด
- ต้องทำความสะอาดภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
- ต้องทำความสะอาดบ่อต่าง ๆ ที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
- จัดเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมนำมาใช้งาน
- ควรตรวจสอบการจัดเก็บสารจับตัวให้อยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย รวมทั้งส่วนที่คงเหลือจากการใช้งานด้วย
- ทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องจับตัวแบบต่อเนื่องอย่างเหมาะสม
- บำรุงรักษาเครื่องจักรสำหรับรีดยาง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยุ่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ