น้ำยางสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นน้ำยางข้น  เป็นของเหลวที่เสียสภาพได้ง่าย  และเมื่อเสียสภาพแล้วจะไม่สามารถทำให้คืนกลับมาเป็นน้ำยางได้อีก  สาเหตุที่ทำให้น้ำยางสดเสียสภาพนั้น โดยทั่วไปเกิดขึ้นได้จาก

  • ระหว่างเก็บรวบรวมน้ำยาง  ขาดความระมัดระวังเรื่องความสะอาด  ทำให้มีแบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโตในน้ำยางได้
  • เสียสภาพจากสารเคมี  เนื่องจากการใช้ผิดประเภท หรือใช้ในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง
  • เสียสภาพทางกล  เนื่องจากการขนย้าย หรือถ่ายเทน้ำยาง

ปัจจุบันน้ำยางสดที่ถูกเก็บจากต้นยางจะถูกเก็บรวบรวมเป็นลำดับขั้น  เริ่มต้นจากชาวสวนยาง ผ่านกลุ่มเกษตรกร , สหกรณ์  หรือบ่อรับซื้อน้ำยางรายย่อย  หลังจากนั้นอาจส่งเข้าโรงงานน้ำยางข้นโดยตรง  หรือส่งต่อให้พ่อค้าคนกลางรายใหญ่รวบรวมส่งเข้าโรงงานต่อไป  การรวบรวมน้ำยางสดจากจุดเริ่มต้นจนถึงโรงงานต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า  6 ชั่วโมง   จึงจำเป็นต้องมีวิธีการเก็บรวบรวมน้ำยางที่ดี   และการใช้สารเคมีในการรักษาสภาพที่ถูกต้อง

ข้อควรปฎิบัติในการเก็บรักษาน้ำยางสด

  1. ภาชนะต่าง ๆ  ที่ใช้บรรจุน้ำยาง หรือใช้งานที่สัมผัสกับน้ำยาง  เช่น  แกลลอน , ถังรับน้ำยาง , สายยาง , ปั๊มน้ำยาง  ต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรับน้ำยางเข้าสู่บ่อ  ต้องระวังสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ที่ติดมากับน้ำยาง  เช่น ใบไม้ , เศษไม้ , ก้อนยางที่เสียสภาพ  จึงควรมีการกรองก่อนจะรับน้ำยางเข้า
  3. การขนย้าย  ถ่ายเทน้ำยาง  ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปั๊ม  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรเลือกใช้ปั๊มที่ไม่ทำให้น้ำยางเสียสภาพได้ง่าย
  4. การขนถ่ายน้ำยางสดจากจุดรวบรวมไปยังปลายทางควรใช้ระยะเวลาสั้น ๆ
  5. การใช้สารเคมีเพื่อรักษาสภาพน้ำยาง  ควรทำให้เร็วที่สุด  การปล่อยให้แบคทีเรียเจริญเติบโตก่อนแล้วจึงใช้  จะทำให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียลดลง
  6. ในระหว่างการรวบรวมน้ำยาง และขนถ่ายน้ำยาง  ต้องระวังป้องกันสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ
  7. การใช้สารเคมีในการรักษาสภาพที่ถูกต้อง  ที่ใช้อยู่แพร่หลายในปัจจุบัน มีอยู่  2  รูปแบบ คือ
    • การใช้แอมโมเนีย  ในน้ำยางสดควรใช้แอมโมเนียปริมาณ  0.35 – 0.50 %  การใช้แอมโมเนียที่มากกว่า 0.35 %  จะมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย  จึงทำให้ค่า  VFA.  ซึ่งเกิดขึ้นจากการหาค่ากรดที่ระเหยง่ายจากแบคทีเรียที่ย่อยสลายสารอาหารใน น้ำยางมีค่าต่ำ  นอกจากนี้แอมโมเนียยังทำให้ค่า  pH  ของน้ำยางเพิ่มขึ้น  ซึ่งส่งผลให้ความเสถียรของน้ำยางเพิ่มขึ้น
    • การใช้แอมโมเนียร่วมกับสารตัวอื่น ๆ  โดยทั่วไปใช้ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) กับ เตตระเมทธิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ ( TMTD )รวมกันในอัตราส่วน  1 : 1  เรียกกันว่า   “ ยาสุกขาว “ หรือ “ TZ “  ใช้ร่วมกับแอมโมเนีย  เป็น

แอมโมเนีย + ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) + เตตระเมทธิลไทยูแรมไดซัลไฟต์ ( TMTD )