น้ำยางข้นในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้แอมโมเนียเป็นสารรักษาสภาพ  โดยใช้ในระดับที่แน่ใจว่าไร้ปัญหา คือ  >  0.6  %  ซึ่งจะทำให้น้ำยางข้นไม่สูญเสียสภาพ  และค่า VFA ถูกควบคุมอยู่ในระดับต่ำ

ปริมาณ แอมโมเนียที่มีอยู่สูงในน้ำยางข้น  จะมีผลต่อการแปรรูปน้ำยางภายหลัง  เช่น  การสิ้นเปลืองกรดมากเมื่อต้องการให้น้ำยางจับตัว , จำเป็นต้องมีการไล่แอมโมเนียออกไปก่อนการทำผลิตภัณฑ์ , มีกลิ่นรุนแรงเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น  ดังนั้นในระยะหลังจึงได้มีการหาสารเคมีอื่นมาใช้แทน  หรือมาใช้ร่วมกับแอมโมเนีย  เพื่อที่จะใช้แอมโมเนียในปริมาณที่ต่ำลง  เรียกสารที่ใช้ร่วมกับแอมโมเนียว่า สาร  Secondary  Preservatives  และแบ่งกลุ่มของน้ำยางข้นออกเป็น  2  กลุ่มตามลักษณะของสารเคมีที่ใช้ในการรักษาสภาพ  คือ

  • น้ำยางข้นชนิด  High  Ammonia  ( HA  )  เป็นน้ำยางข้นที่ใช้แอมโมเนียรักษาสภาพในปริมาณ  0.7  %
  • น้ำยางข้นชนิด  Low  Ammonia  (  LA  )  เป็นน้ำยางข้นที่ใช้แอมโมเนียรักษาสภาพร่วมกับสาร  Secondary  preservatives  โดยจะใช้แอมโมเนียในปริมาณประมาณ  0.2  %   และสารเคมีในปริมาณที่แตกต่างไปตามชนิดของสารนั้น ๆ

สาร  Secondary  Preservatives
สารในกลุ่ม  Secondary  preservatives  จะต้องมีความสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์  แบ่งเป็น  2  ประเภทด้วยกันคือ

  • สารเคมี เช่น  phenol , ulphonates , halog en-nitro hydrocaebon , alkyl mercury ester , arsenic  trioxide , sulphonamides , selenium alkyl dithiocarbamates , thiobis-halophenols , ethlylene oxide  เป็นต้น
  • สารแอนตี้ไบโอติก  เช่น  เพนนิซิลิน , streptomycin , oxytetracyclin , chlorampheniol  เป็นต้น

การนำสารต่าง ๆ  เหล่านี้มาใช้งานในน้ำยางข้น  ไม่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตจริงได้ทุกตัว  เพราะหลายสาเหตุด้วยกัน  เช่น  มีราคาสูง , หายาก , เป็นพิษ , มีผลข้างเคียงต่อคุณภาพน้ำยาง หรือการใช้งานของน้ำยาง  สารแต่ละตัวอาจจะทดลองใช้ในห้องปฎิบัติการได้รับผลสำเร็จ  แต่การนำไปใช้ในทางการค้าอาจจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง  สำหรับสารที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ได้แก่  ซิงค์ออกไซด์  ( ZnO )  , กรดบอริค  ( Boric acid ) , โซเดียมเพนตะคลอโรฟิเนท ( SPP ) , ซิงค์ไดอัลคิล ไดไทโอคาร์บาเมท ( ZDC ) , เตตระเมทธิลไทยูแรมไดซัลไฟต์ ( TMTD )

โซเดียมเพนตะคลอโรฟิเนท  ( SPP )
เริ่ม มีจำหน่ายครั้งแรกในปีคศ. 1961  ต้องใช้ร่วมกับแอมโมเนียเสมอ  โดยใช้ในสัดส่วน  0.2 % แอมโมเนีย  +  0.2 % SPP  หรือ  0.1 % แอมโมเนีย  +  0.1 % SPP  +  0.1 % EDTA ( ethylene diamine tetra acetic acid )

น้ำ ยางข้นที่เก็บรักษาด้วยวิธีนี้มีชื่อย่อเรียกว่า  LA – SPP  จะมีความเสถียรค่อนข้างสูง  ซึ่งอาจมีปัญหาในการแปรรูป และทำให้ยางมีสีคล้ำ  ข้อเสียที่สำคัญคือ เป็นอันตรายต่อการทำผลิตภัณฑ์ประเภทที่ต้องสัมผัสกับอาหารและยา เนื่องจากใน Pentachlorophenol  มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษอย่างมาก  การขจัดสิ่งเจือปนออกต้องใช้ต้นทุนสูง  ในปัจจุบันจึงไม่นิยมใช้กัน

กรดบอริค
ใน ปีคศ. 1956  เริ่มมีการนำมาใช้เป็นสารเก็บรักษาน้ำยาง  ในลักษณะการใช้ร่วมกับแอมโมเนีย  และมีการเติมกรดลอริคลงไปในน้ำยางด้วย  เพื่อให้น้ำยางมีความเสถียรขึ้น  โดยใช้ร่วมกันในสัดส่วน  0.2 % แอมโมเนีย  +  0.2 – 0.25 % Boric acid  +  0.03 – 0.06 % Lauric acid

น้ำ ยางข้นที่เก็บรักษาด้วยวิธีนี้ มีชื่อเรียกว่า  LA – BA  น้ำยางข้นชนิดนี้จะให้ยางแผ่นสีจาง สวย  แต่มีข้อเสีย คือ ความเสถียรของน้ำยางต่อ ZnO ต่ำ , ให้ยางที่วัลคาไนซ์ช้า เพราะความเป็นกรดในยาง , เป็นพิษไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับอาหารและผิวหนัง

ซิงค์ไดอัลคิล ไดไทโอคาร์บาเมท  ( ZDC )
มี รายงานการใช้เป็นครั้งแรกในปี คศ. 1948  แต่ยังไม่มีในทางการค้า  จนถึงปี คศ. 1954  จึงเริ่มผลิตขึ้นเพื่อทางการค้า  โดยการใช้ร่วมกับแอมโมเนีย และมีการใส่กรดลอริค เพื่อเพิ่มความเสถียรให้แก่น้ำยาง  ในสัดส่วนการใช้  0.2 % แอมโมเนีย  +  0.1 – 0.2 % ZDC  +  0.03 – 0.06 % Lauric acid

น้ำ ยางข้นชนิดนี้ เรียกว่า  LA – ZDC  จะมีความเสถียรเชิงกลค่อนข้างต่ำ  และไม่สามารถเก็บได้นาน  น้ำยางที่ได้จะมีความหนืดสูง ( ยกเว้นหากใส่กรดลอริคในปริมาณมาก )  ยางที่ได้จะมีสีคล้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกอบด้วยความร้อน

ซิงค์ออกไซด์  (  ZnO  )
เริ่ม มีการใช้ซิงค์ออกไซด์เก็บรักษาน้ำยางเมื่อปี คศ. 1965  เนื่องจากการใช้แอมโมเนียปริมาณต่ำเพียงอย่างเดียว  ไม่สามารถควบคุมให้มี  VFA คงที่ในระดับต่ำได้  จำเป็นต้องใส่สารเคมีอื่นร่วม  พบว่าการใช้แอมโมเนียร่วมกับซิงค์ออกไซด์  ในสัดส่วนการใช้  0.2 % แอมโมเนีย  +  0.1 % ZnO  ให้ผลดี

ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) ร่วมกับ เตตระเมทธิล ไทยูแรมไดซัลไฟต์ ( TMTD )
ใน ปี คศ. 1975  เริ่มมีการใช้ในการเก็บรักษาน้ำยาง  โดยใช้แอมโมเนีย  0.2 % ร่วมกับซิงค์ออกไซด์ 0.025 % และ TMTD 0.025 %  สามารถเก็บรักษาน้ำยางได้นานเป็นที่น่าพอใจ  อาจมีการใส่สบู่ลอเรต เพื่อเสริมความเสถียรเชิงกล

น้ำยางข้นชนิดนี้ เรียกว่า LA – TZ  ซึ่งจะต้องระมัดระวังในการใช้  เนื่องจาก  TMTD และ ZnO  ทำให้โมเลกุลของยางเกิดพันธะทางเคมีได้  และหากใส่ในปริมาณสูงเกินไป  จะทำให้น้ำยางเกิดการจับตัวเป็นก้อนเม็ดเล็ก ๆกระจายอยู่ในน้ำยางที่อุณหภูมิสูง

TMTD ก่อให้เกิด  nitrosamine  ขณะวัลคาไนซ์  แต่ nitrosamine มีปริมาณเพียง 10  ส่วนในพันล้านส่วนที่จะมาจาก  TMTD

latex chemi standard-rubberdigset