น้ำยางสดที่ไหลจากการกรีดต้นยางพารา  เป็นของเหลวสีขาวคล้ายกับน้ำนม มีสภาพเป็นคอลลอยด์หรือสารแขวนลอย  มีมีคุณสมบัติโดยทั่วไป ดังนี้

  •  ความหนาแน่น   0.975  –  0.980  กรัม ต่อ มิลลิลิตร
  • ความ เป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ  6.5 – 7.0  แต่หลังจากตั้งทิ้งไว้สักระยะเวลาหนึ่ง  เช่น  ประมาณ  12  ชั่วโมง ค่า pH  ของน้ำยางจะลดลงเหลือประมาณ  5
  • ความหนืดประมาณ  12 – 15  เซนติพอยส์  (Centipoise)  ความหนืดของน้ำยาง ไม่ขึ้นกับความเข้มข้นของเนื้อยางโดยตรง แต่ จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อความเข้มข้นของเนื้อยางเพิ่มขึ้น  จะพบว่าถ้าน้ำยางมีเนื้อยางเข้มข้นขึ้น  2  เท่าตัว  จะมีความหนืดสูงขึ้นมากกว่า  10  เท่าตัว

**ความหนืดของน้ำบริสุทธิ์ที่  20 องศาเซลเซียส เท่ากับ 1 centipoise**

latex from tree
น้ำยางสดประกอบด้วยอนุภาคที่มีรูปร่างเป็นเม็ดเล็ก ๆ  แขวนลอยกระจัดกระจายอยู่ในของเหลวที่เรียกว่า  เซรุ่ม  (Serum)  จะมีสมบัติที่แตกต่างกันไป  ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน  เช่น  ฤดูกาลกรีดยาง พันธุ์ยาง อายุของต้นยาง วิธีการกรีดยาง  เป็นต้น

อนุภาคของน้ำยางโดยธรรมชาติจะมีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลม  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางค่อย ๆ  เพิ่มขึ้นตามอายุของต้นยาง  จากการศึกษาขนาดอนุภาคยางพันธุ์  RRIM 600  อายุ  1 – 7  ปี  พบว่าขนาดของอนุภาคยางจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจาก  0.28  ไมโครเมตร  เป็น 0.68  ไมโครเมตร

โดยทั่วไปแล้ว  ต้นยางที่โตเต็มที่จะมีการกระจายตัวของขนาดอนุภาคยางในช่วง  0.04 – 4.0  ไมโครเมตร  มีขนาดอนุภาคโดยเฉลี่ยประมาณ  1.0 ไมโครเมตร